หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

โรคสัตว์ปีกและการป้องกัน


โรคสัตว์ปีกและการป้องกัน



       โรค (Diseases) คือ สภาวะที่ทาให้สภาพร่างกายของสัตว์ปีกเจ็บป่วย หรือผิดไปจากปกติ ไก่ป่วยมักไม่กินอาหาร การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตไข่ลดลง ถ้าป่วยมากอาจถึงขั้นตายได้ ลักษณะการเกิดโรคอาจเป็นแบบรวดเร็วและรุนแรงมาก (Peracute) แบบเฉียบพลัน (Acute) หรือ แบบเรื้อรัง (Chronic) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค เชื้อโรคที่เข้าไปในตัวไก่อาจทาให้ไก่แสดงอาการเป็นโรคให้เห็น (clinical symptom) หรือไก่อาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน (Subclinical symptom) ทั้ง ๆ ที่ได้รับเชื้อโรคแล้วก็จะกลายเป็นตัวพาหะนาเชื้อโรค (Disease carrier)

สาเหตุของการเกิดโรค
สาเหตุของการเกิดโรคเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
1. แบคทีเรีย
2. ไวรัส
3. โปรโตซัว
4. พยาธิ
5. เชื้อรา
6. การขาดอาหาร

      จากสาเหตุการเกิดโรคข้างต้นเราจึงสามารถแบ่งโรคออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ โรคติดต่อ (Infectious diseases) ซึ่งได้แก่ โรคเมื่อเกิดขึ้นกับสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งแล้วสามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์ตัวอื่น ๆ ในฝูงได้ โรคติดต่อนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากพวกเชื้อโรคและพยาธิต่าง ๆ ส่วนโรคอีกกลุ่มหนึ่งคือ โรคไม่ติดต่อ (Non-infectious diseases) หมายถึง โรคที่เมื่อเกิดขึ้นกับสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งแล้วไม่สามารถแพร่กระจายหรือติดต่อไปยังสัตว์ตัวอื่นได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ใกล้ชิดกันก็ตาม โรคไม่ติดต่อนี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดอาหาร การได้รับสารพิษ การได้รับความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ความผิดปกติของร่างกาย บางครั้งอาจมีสาเหตุมาจากพวกเชื้อโรคต่าง ๆ ด้วย เช่น โรคบาดทะยัก ก็จัดอยู่ในโรคกลุ่มนี้

การติดต่อของโรค
เชื้อโรคจะแพร่กระจายออกจากร่างกายสัตว์ป่วยได้โดย
1. ทางมูลและปัสสาวะ
2. ทางปากโดยออกมากับน้าลาย
3. ทางจมูกโดยออกมากับน้ามูก
4. ทางอวัยวะสืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์
5. ทางเลือดโดยแมลงดูดเลือดต่าง ๆ เช่น ยุง เหลือบ เหา ไร หมัด ฯลฯ
6. ทางน้าตาหรือส่วนอื่น ๆ


หลังจากเชื้อโรคออกจากร่างกายสัตว์ป่วยแล้ว จะแพร่ไปยังสัตว์ที่ยังไม่ป่วยได้หลายทางด้วยกัน คือ
1. ทางน้า
2. ทางอากาศ
3. ทางดิน
5. จากการสัมผัสโดยตรง
6. ทางภาชนะเครื่องมือต่าง ๆ
7. ทางไข่ฟัก
8. โดยการเคลื่อนย้ายไก่ป่วย



เอกสารประกอบการสอน การผลิตสัตว์ปีก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น